วิธีสมัคร Google Adsense พร้อมตัวอย่างเว็บที่ผ่านการสมัคร (ตอนที่1)
เห็นบ่อยมาก ๆ กับคำถามว่าทำเว็บอย่างไรถึงจะสมัคร Adsense ผ่าน ทำไมสมัครเท่าไรก็ไม่ผ่านสักที สมัคร Adsense ยากจัง เว็บต้องอายุกี่เดือนถึงจะสมัครได้ คนเข้าเว็บต้องเท่าไรต่อวันถึงจะสมัครผ่าน สาระพัดคำถามจากเหล่าบรรดาเว็บมาสเตอร์มือใหม่และมือเก่าบางคนที่ยังสมัครไม่ผ่าน
วันนี้ผมจึงคิดว่าจะมาแนะนำการสมัคร Adsense แบบง่าย ๆ ในแบบที่ผมเคยสมัครแล้วผ่านให้ผู้อ่านได้ลองทำตามกันดูครับ ส่วนตัวอย่างบล็อกที่สมัครแล้วผ่านก็บล็อกนี้ละครับ mantiser.blogspot.com เป็นบล็อกที่สมัคร Adsense ผ่านด้วยบทความไม่ถึง 20 บทความ ลองย้อนไปดู 15 บทความแรกที่ผมเขียนในบล็อกนี้ดูนะครับ
เอาง่าย ๆ เลยใช้ Blogspot นี่ละครับในการสมัคร Adsense ให้ผ่านไม่ต้องไปสร้างเว็บเสียเงินจดโดเมนเช่า Host อะไรให้วุ่นวาย Google เขามีของฟรีให้เราใช้กันอยู่แล้ว ดังนั้นมือใหม่ก็ควรจะเริ่มต้นจากอะไรที่ไม่ต้องลงทุนหรือลงทุนให้น้อยที่สุดก่อนจะดีกว่า จะได้ไม่พลาดพลั้งเสียเงินไปแล้วไม่ได้อะไรกลับมา ล้มเหลว ท้อแท้ สิ้นหวัง
เดี่ยวจะแนะนำก่อนว่า Adsense คืออะไร เผื่อว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้จัก Adsense ก็คือโปรแกรมพันธมิตรของ Google ที่มีให้เจ้าของเว็บไซด์ เจ้าของบล็อก สมัครเข้าร่วมเป็นพันธมิตร ถ้าสมัครผ่านแล้วนั้นจะสามารถเอาโฆษณามาติดลงในเว็บของตนเองได้ และจะมีรายได้จากโฆษณานั้นตามข้อตกลงของ Adsense แต่ในบทความนี้ผมจะไม่พูดถึงรายได้ หรือข้อตกลงกติกาต่าง ๆ อันนี้ให้ไปอ่านกันเอาเองนะ ผมจะพูดถึงในเรื่องของการสมัครอย่างเดียวเท่านั้น
มือใหม่ที่คิดจะทำเว็บแล้วติดโฆษณา Adsense อย่างแรกต้องพิจารณาว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร อะไรที่เราสามารถหาข้อมูลมาเขียนได้เรื่อย ๆ โดยที่ไม่ตัน จนมุม คิดไม่ออกสุดท้ายก็เลิกเขียน เราต้องหาคำตอบเรื่องนี้ให้ได้ก่อน และต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่านและสังคม
เมื่อได้คำตอบแล้วสมมุติว่าจะทำบล็อกเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แบบบล็อกนี้ ก็ต้องไปดูว่าคอมพิวเตอร์ได้ลงโฆษณากับ Adsense รึป่าว ด้วยวิธีง่ายคือพิมพ์ค้นหาคำว่า คอมพิวเตอร์ ใน google ถ้าเจอโฆษณาที่เกี่ยวข้องขึ้นมาแสดงว่าเราสามารถทำบล็อกเกี่ยวกับเรื่องนี้และสามารถนำไปสมัคร adsense ได้แน่นอน
แต่ถ้าพิมพ์หาแล้วไม่เจอก็แสดงว่าเรื่องนั้นไม่ควรทำ เพราะเวลาสมัครไป adsense จะตอบกลับมาว่าเว็บไซด์ไม่สอดครองกับนโยบาย คือประมาณว่าไม่มีผู้สนับสนุนโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราเขียน เขาก็เลยไม่ให้เราผ่าน
เมื่อเราผ่านเรื่องราวของการเลือกเรื่องที่จะทำแล้ว เราก็มาพูดถึงรูปแบบหน้าบล็อก ควรจะง่ายต่อการอ่าน คืออย่าไปเน้นว่าต้องลง Theme อะไรสวยงามเลิศหรู ไม่จำเป็นเลยครับ เน้นแค่เพียงความเรียบง่าย บล็อกดูสะอาดอ่านง่าย หาข้อมูลต่าง ๆ เจอ มีเมนูนำทางให้ผู้อ่านได้ไปอ่านบทความอื่น ๆ มีการแบ่งหมวดหมู่พอสมควร ซึ่งเมนูต่าง ๆ มีให้เราครบอยู่แล้วในบล็อกเกอร์ที่เรียกว่า Gadget นั้นเอง
เมื่อจัดวางตำแหน่งนำทางต่าง ๆ ของบล็อกเรียบร้อยแล้วก็มาเริ่มเขียนบทความแรกกัน หัวเรื่องของบทความนั้นสำคัญมาก ควรจะเป็นคำที่คิดว่าคนจะใช้ในการค้นหา เวลาเขาค้นหาแล้วจะได้เจอบล็อกของเรา เพราะคำค้นหาตรงกันพอดี เนื้อหาก็ต้องไม่ซ้ำใคร คืออย่าไป Copy ของคนอื่นมานะ ต้องเขียนเอง ถ้าเราเขียนเองต่อให้เขียนเรื่องเดียวกันก็ไม่มีทางหรอก ที่จะเรียบเรียงคำต่าง ๆ ออกมาได้อย่างเหมือนกันทุกประการ มันจะมีความแตกต่างในตัวเองอยู่แล้วเพราะการเขียนอธิบายของแต่ละคนนั้นย่อมต่างกัน
ไม่อยากให้บทความยาวเกินไป ดังนั้นอ่านต่อได้ที่ ตอนที่2
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น