บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2014

ความรู้เกี่ยวกับการ์ดจอแสดงผล Display Card

รูปภาพ
การ์ดจอแสดงผล  ในปัจจุบันจะเป็น Slot PCI Express ถือเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อในปัจจุบัน การเชื่อมต่อเป็นแบบ Point to Point มี Switch เป็นตัวควบคุมการรับส่งข้อมูล บัส PCI Express มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเริ่มต้นที่ 500MB/s ในปัจจุบันใช้มาตรฐาน PCI Express x 16 ความเร็วจึงสูงถึง 8 - 32 GB/s การ์ดจอจะมีอยู่ 2 ค่ายที่ได้รับความนิยมคือ ATi และ nVidia ผลิตการ์ดแสดงผลมานาน เป็นกราฟฟิกแบบ 3 มิติ ในปัจจุบัน AMD ได้ซื้อกิจการของ ATi มาเป็นของตัวเองแล้ว จะใช้รหัสนำหน่าการ์ดจอว่า HD เพื่อให้รู้ว่าเป็นรุ่นใหม่ที่รองรับความละเอียดที่ระดับสูง nVidia  ก็โด่งดังมีการ์ดจอออกมาในชื่อ Geforce การ์ดจอมีหน่วยความจำบนการ์ด ก็เหมือน RAM ของคอมพิวเตอร์ ยิ่งมีแรมมากและเร็วมากเท่าไร การ์ดจอก็จะยิ่งทำงานได้ดีขึ้นเท่านั้น ซึ่งแรมนั้นมีหลายแบบเช่น DDR2 GDDR2 GDDR3 GDDR4 GDDR5 หัวต่อของการ์ดแสดงผลก็มีหลายแบบเช่นกัน VGA DVI-I DVI-D DVI-A S-Video HDMI Mini HDMI DisplayPort Mini DisplayPort

CD DVD Blu Ray คืออะไร มีกี่ประเภท

รูปภาพ
CD DVD คือสื่อเก็บข้อมูลที่ใช้แสงในการอ่าน เป็นสื่อประเภทออปติคอล แผ่น CD DVD เป็นจานกลม ๆ มีลักษณะเป็นร่องใช้เก็บข้อมูล ซึ่งร่องเกิดจากการยิงแสงเลเซอร์ลงไป CD นั้นบันทึกข้อมูลได้น้อยกว่าเพราะมีขนาดร่องที่ใหญ่กว่า DVD เกือบสองเท่า แผ่น CD ในปัจจุบันมีสองแบบคือเขียนข้อมูลลงไปได้ CD-R บันทึกข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียวไม่สามารถลบได้ และอีกแบบคือ CD-RW เขียนและลบข้อมูลได้ แผ่น DVD จะแบ่งออกเป็น 2 แบบเช่นกันคือแบบที่เขียนได้ลบไม่ได้ กับเขียนได้และลบได้ แต่จะมีแบ่งย่อยอีกหลายอย่างดังนี้ DVD-R เขียนซ้ำไม่ได้ DVD-RW เขียนซ้ำได้ DVD+R เขียนต่อได้เรื่อย ๆ จนเต็ม เขียนซ้ำไม่ได้ DVD+RW เขียนต่อได้เรื่อย ๆ จนเต็ม เขียนซ้ำได้ DVD-RAM เขียนลบได้ตลอดเวลาเหมือนฮาร์ดิสก์

ฮาร์ดดิสก์ Harddisk คืออะไร

รูปภาพ
ฮาร์ดดิสก์คือ ที่เก็บข้อมูลหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความจุสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานแม่เหล็กกลมแบนวางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เวลาทำงานก็จะหมุนลักษณะเหมือนพวกแผ่น CD DVD มีหัวอ่านทำหน้าที่อ่านข้อมูลและเขียนข้อมูล ความเร็วในการอ่านเขียนขึ้นอยู่กับความเร็วในการหมุนของ Harddisk ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีความจุมากกว่า 3TB [3000GB] อัตราการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 600MB/s มาตรฐาน Serial ATA รุ่นที่ 3 อนาคตเห็นว่าจะพัฒนาไปเป็น SATA Express อัตราในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า 1GB/s ประสิทธิภาพในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ จะดูจากระยะเวลาในการรอคอยเพื่ออ่านเขียนข้อมูล ซึ่งความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับความเร็วในการหมุนจาน รวมถึงตำแหน่งไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนจาน Windows จึงมีโปรแกรมจัดเรียงไฟล์ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นระเบียบของข้อมูล มีผลทำให้ฮาร์ดดิสก์สามารถทำงานได้เร็วขึ้น ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน สามารถควบคุมความเร็วรอบตามการใช้งานได้ เหมือนที่ CPU สามารถควบคุมจำนวน Core ได้ เพื่อลดการใช้กระแสไฟฟ้าและยังยืดอายุการใช้งาน สำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 3TB นั้น ในกรณีที่แบ่งพาติชั่นขนาดใหญ่เกิน 2TB จะใช้ไม่

MainBoard เมนบอร์ดคืออะไร

รูปภาพ
เมนบอร์ดคือ แผงวงจรที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายใน ไม่ว่าจะเป็น แรม การ์ดจอ การ์ดเสียง CPU อื่น ๆ มีชิบเซ็ตควมคุมการทำงาน เมนบอร์ดในปัจจุบันก็จะมีแบบ ATX คือแบบใหญ่ ๆ ที่เห็นกันเป็นตู้ CPU กับอีกแบบคือ Mini ITX จะเป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรที่สำคัญ อุปกรณ์หลักก็จะมีซอกเก็ตสำหรับซีพียู ซอกเก็ตแรม ชิบเซ็ตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดให้ทำงานสัมพันกัน ปัจจุบันการออกแบบเมนบอร์ดนั้น ก็จะใช้สี ใช้รอยบาก เพื่อให้สังเกตุได้ง่ายในการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ การเสียบสายต่าง ๆ ซอกเก็ตซีพียู คือตำแหน่งที่ติดตั้ง CPU โดยรูปแบบของซอกเก็ตจะแตกต่างกันไปตามรุ่นของเมนบอร์ด เมนบอร์ดแต่ละรุ่นก็รองรับ CPU บางรุ่นเท่านั้น ซิบเซ็ต คือตัวที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อเข้ากับเมนบอร์ด ซิบเซ็ตจะมีอยู่ 2 แบบคือ North Bridge ทำหน้าที่ควมคุมการรับส่งข้อมูลของ CPU RAM การ์ดจอ แต่ในปัจจุบัน North ได้ถูกรวมเข้ากับตัว CPU แล้ว South Bridge มีขนาดเล็กทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่ North ไม่ๆได้ควบค

CPU คืออะไร มาทำความรู้จักกับ CPU กันดีกว่า ( Center Processing Unit )

รูปภาพ
CPU คือหน่วยประมวลผลกลาง ชื่อเต็ม ๆ ว่า Center Processing Unit เป็นตัวที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ทุกอย่าง CPU จึงเปรียบเหมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก CPU จะมีหน่วยความจำในตัว ที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช Cache เป็นหน่วยความจำแบบ SRAM ซึ่งทำงานได้รวดเร็วกว่าแรม DRAM แคชจึงสามารถเก็บข้อมูลและส่งคำสั่งต่าง ๆ ไปยัง CPU ได้รวดเร็ว การทำงานก็จะอยู่ในลักษณะ CPU - Cache - RAM ทุกการกระทำจะต้องผ่าน Cache ก่อนเสมอเพื่อความรวดเร็วในการเรียกใช้ข้อมูล ในปัจจุบันแคชมีด้วยกัน 3 ส่วนคือ L1 Cache จะมีขนาดเล็ก 32 - 64 KB จะอยู่ใกล้กับ CPU มากที่สุด L2 Cache  จะมีขนาด 512KB - 4MB นอกจากนี้แล้ว L2 ยังจะมี 2 แบบคือ แบบ Inclusive จะเป็นแบบที่เก็บพื้นที่ส่วนหนึ่งเอาไว้ให้กับ L1 Cache อีกแบบคือ Exclusive จะเป็น L2 เต็ม ๆ ไม่แบ่งพื้นที่ L3 Cache  จะมีขนาด 2 - 8MB จะอยู่ติดกับบัสของ CPU จะเป็นตัวแรกที่รับข้อมูลจาก RAM ก่อนจะส่งไปที่ L2 L1 และ CPU ตามลำดับ CPU  ที่ดีควรจะไม่ใช้ไฟมากนักและความร้อนไม่สูง ซึ่งในปัจจุบันก้ได้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นของ INTEL ห

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

keep2share.cc เว็บฝากไฟล์ตัวใหม่มาแรงมาก

การตั้งค่าไมค์โครโฟนให้เสียงดัง วินโด XP 7 8 10

การตั้งค่า internet download manager [IDM]

วิธี Root โทรศัพท์แอนดรอยด้วยโปรแกรม Kingo Root

ส่งภาพและเสียงจากคอมไปยัง Smart TV ด้วย Intel® Wireless Display

วิธีแก้ปัญหาไฟล์ .dll หาย

วิธีล้างประวัติ ค้นหาประวัติ Browser Chrome

วิธีปรับขนาดตัวอักษรในโปรแกรมต่าง ๆ

วิธีการทำ SS [Screen Shot] ให้กับคลิบวิดีโอ

Chrome แจ้งว่าส่วนขยาย IDM ละเมิดนโยบาย